โรคหัวใจวาย Heart failure
โรคหัวใจเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของประเทศไทย ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม สาเหตุการตายก็เปลี่ยนจากการติดเชื้อเป็นอุบัติเหตุ โรคหัวใจ โรคเอดส์ ปัจจุบันการตายจากโรคหัวใจก็เพิ่มมากขึ้น บางคนก็เสียชีวิตเฉียบพลัน บางคนก็กลายเป็นโรคเรื้อรังและมีโรคแทรกซ้อน
โรคหัวใจวายเป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็วบางรายอาจจะถึงแก่ชีวิต การเปลี่ยนแปลงของโรคไม่แน่นอนท่านอาจจะปรึกษาแพทย์เพื่อที่จะทราบพยากรณ์ของโรค เมื่อเป็นโรคหัวใจนอกจากเกิดผลกระทบกับตัวผู้ป่วยแล้วยังกระทบกับครอบครัว เพื่อนและครอบครัวต้องช่วยกันดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ ทั้งเรื่องอาหาร การทำความสะอาด
หัวใจวายคืออะไร
หัวใจวายหมายถึงภาวะซึ่งหัวใจไม่สามารถสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างพอเพียง หัวใจวายไม่เหมือนกับหัวใจหยุดเต้น เราเรียกหัวใจวายว่า congestive heart failure คือหัวใจทำงานล้มเหลวทำให้เนื้อเยื่อต่างๆขาดออกซิเจน เมื่อไตได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อยลงทำให้ไตสร้างสารบางชนิดออกมาทำให้เกิดการคั่งของน้ำและเกลือในร่างกาย หากหัวใจห้องซ้ายวายก็จะมีการคั่งของน้ำและเกลือที่ปอดทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าน้ำท่วมปอด Pulmonary edma หากหัวใจห้องขวาวายจะเกิดการคั่งของน้ำที่ขาทำให้บวมที่เท้า
อาการหัวใจวายอาจจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน เช่นเกิดภายหลังจากหลอดเลือดหัวใจตีบ หรืออาจจะค่อยๆเกิดเช่นโรคของลิ้นหัวใจ หรือกล้ามเนื้อหัวใจ
ชนิดของหัวใจวาย
เราทราบกันแล้วว่าหัวใจคนเรามี สี่ห้องคือมีหัวใจ การแบ่งหัวใจวายจะแบ่งเป็นหัวใจวายห้องขวาซึ่งประกอบด้วยห้องบนขวา( right atrium) และหัวใจห้องล่างขวา (right ventricle) และหัวใจวายห้องซ้ายซึ่งประกอบด้วยหัวใจห้องบนซ้าย( left atrium) และหัวใจห้องล่างซ้าย (left ventricle)
หัวใจห้องซ้ายล้มเหลวleft-sided heart failure
หัวใจห้องซ้ายจะรับเลือดที่ฟอกแล้วจากปอดและจะสูบฉีดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย หัวใจข้างนี้จะแข็งแรงกว่าหัวใจห้องอื่น หากหัวใจข้างนี้วายร่างกายจะไม่สามารถสูบฉีดเลือดทำให้เลือดคั่งในปอดเกิดภาวะที่เรียกว่าน้ำท่วมปอด Pulmonary edema นอกจากนั้นยังทำให้เกิดอาการบวมที่เท้า
หัวใจห้องขวาล้มเหลว
หัวใจห้องขวาจะรับเลือดจากร่างกายแล้วสูบเลือดไปปอด หากหัวใจห้องขวาล้มเหลวจะทำให้เกิดอาการบวมของเท้า
สาเหตุของหัวใจวาย
เมื่ออายุมากขึ้นการบีบตัวตัวของหัวใจก็จะลดลง หากมีภาวะที่ทำให้หัวใจทำงานมากขึ้นหรือมีการสูญเสียความสามารถในการบีบตัวของหัวใจก็จะเกิดโรคหัวใจวาย นอกจากนั้นยังมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเช่น การสูบบุหรี่ อ้วน การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การขาดการออกกำลังกาย เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดโรคหัวใจวายได้ หัวใจวายมีด้วยการหลายสาเหตุ บางครั้งอาจจะไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด สาเหตุที่พบได้บ่อยได้แก่
- หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ (coronary heart disease) ผู้ป่วยมักจะมีประวัติเจ็บและแน่นหน้าอกมาก่อน เมื่อเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอกล้ามเนื้อหัวใจก็ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายอย่างเพียงพอ สำหรับผู้ที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบตันอย่างเฉียบพลันทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตายไปบางส่วน หากบริเวณที่ตายกินบริเวณกว้างก็อาจจะเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน
- กล้ามเนื้อหัวใจเอง ได้แก่โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ การติดเชื้อไวรัสบางตัวทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเกิดล้มเหลว (cardiomyopathy) กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง
- ความดันโลหิตสูง (Hypertension)เมื่อความดันโลหิตสูงขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหนาตัวต้องทำงานมากขึ้น และเกิดล้มเหลวได้
- ลิ้นหัวใจ เช่น โรคหัวใจ รูมาติก rheumatic heart disease ทำให้ลิ้นหัวใจตีบ หรือมีการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ
- โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
- โรคปอดเช่นโรคถุงลมโป่งพองก็สามารถทำให้หัวใจห้องขวาวาย
- โรคเบาหวาน สาเหตุที่โรคเบาหวานมักจะมีโรคหัวใจคือผู้ป่วยมักจะอ้วน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง

- หัวใจเต้นผิดปกติ อาจจะเต้นผิดจังหวะ หรือเต้นช้าเกินไป (bradyarrhythmia) หรือเต้นเร็วเกินไป (tachyarrhythmia) ทำให้หัวใจไม่สามารถป้ำเลือดได้อย่างเพียงพอ
- สารพิษ เช่น สุรา หรือยาเสพติด ซึ่งจะทำลายกล้ามเนื้อหัวใจเป็นต้น
- ผู้ป่วยที่มีโลหิตจางมากก็ทำให้เกิดหัวใจวาย
- ผู้ป่วยคอพอกเป็นพิษ
การปรับตัวของหัวใจเมื่อเป็นโรคหัวใจวาย
โรคหัวใจวายเป็นโรคเรื้อรังและมีการดำเนินของโรคอยู่ตลอดเวลา หากเป็นใหม่มักจะไม่มีอาการหรือมีอาการแต่ไม่มาก เนื่องจากหัวใจมีการปรับตัวดังนี้
- หัวใจมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือที่เรียกว่าหัวใจโต Cardiomegaly การที่หัวใจมีขนาดโตขึ้นเพื่อรองรับกับความต้องการเลือดของร่างกาย แต่เมื่อโตถึงระดับหนึ่ง กล้ามเนื้อหัวใจถึงยืดทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง
- กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวขึ้น Hypertrophy เพื่อเพิ่มแรงบีบให้กับหัวใจ
- หัวใจเต้นเร็วขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น
อาการของโรคหัวใจวาย
ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเล็กน้อยจึงไม่ได้ใส่ใจ บางรายเป็นขณะทำงานพอพักแล้วหาย จึงยังไม่ได้ปรึกษาแพทย์ เป็นจำนวนไม่น้อยที่มาพบแพทย์เมื่ออาการหนักมาก ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจวายควรที่จะรู้ว่ามีอาการอะไรบ้างและควรที่จะติดตามอาการเหล่านั้นหากอาการแย่ลงต้องรีบปรึกษาแพทย์อาการต่างๆทีพบได้

รูปแสดงปอดในสภาพปกติ และรูปปอดที่เป็นหัวใจวายและมีน้ำท่วมปอด
|
- เหนื่อยง่ายหากโรคหัวใจเป็นไม่มากจะหอบเฉพาะเวลาทำงานหนัก หรือขึ้นบันได พอพักจะหายเหนื่อย dyspnea on exertion แต่ถ้าโรคหัวใจเป็นมากขึ้นผู้ป่วยจะเหนื่อยง่ายงานที่เคยทำได้ก็จะเหนื่อย หากเป็นมากขึ้นกิจกรรมปกติก็จะเหนื่อย จนกระทั่งเวลาพักก็เหนื่อย หากอาการเหนื่อยเปลี่ยนในทางที่แย่ลงต้องปรึกษาแพทย์อาการเหล่านี้เกิดจากน้ำท่วมปอด Pulmonary edma
- นอนราบไม่ได้จะเหนื่อย ต้องลุกมานั่งหลังจากนอนไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง บางรายต้องนั่งหลับ

หน้าแข้งและหลังเท้าบวม เมื่อกดหลังเท้าจะพบรอยบุ๋ม
|
orthopnea
- แน่นหน้าตอนกลางคืน ต้องลุกขึ้นมานั่ง
- อ่อนเพลียง่าย ไม่มีแรง
- ข้อเท้าบวม บวมท้องเนื่องจากมีการคั่งของน้ำและเกลือ
- น้ำหนักเพิ่มอย่างเร็ว
- ไอเรื้อรังโดยเฉพาะหากเสมหะมีเลือดปนออกมาต้องรีบไปพบแพทย์เพราะนั้นคืออาการของน้ำท่วมปอด
- เบื่ออาการ คลื่นไส้อาเจียนเนื่องจากระบบย่อยอาหารได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อยลง
- ความจำเสื่อม มีการสับสน
- ใจสั่นหัวใจเต้นเร็ว
ปรึกษากับแพทย์ของท่านหากท่านมีโรคหัวใจอยู่ก่อนและเกิดอาการดังกล่าว
อาการ |
ต้นเหตุ |
อาการของผู้ป่วย |
แน่นหน้าอก |
เลือดคั่งในหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงปอด |
เหนื่อยเวลาทำงานหนัก เหนื่อยเวลาพัก เหนื่อยหรือแน่นหน้าอกเวลานอน |
ไอเวลานอน |
เลือดคั่งในปอดและมีการรั่วของเลือดเข้าในปอด |
ไอเวลานอน แน่นหน้าอกเวลานอน ต้องลุกนั่งจึงจะหาย |
บวม |
เลือดไม่สามารถผ่านหัวใจ เกิดการคั่งในเนื้อเยื่อ และมีการรั่ว |
บวมหลังเท้า ข้อเท้า ท้อง และมือ |
อ่อนเพลีย ไม่มีแรง |
เนื่องจากหัวใจฉีดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อน้อย เกิดการคั่งของของเสีย |
อ่อนเพลีย ไม่มีแรงเดินหรือขึ้นบันได |
คลื่นไส้ ไม่อยากอาหาร |
กระเพาะลำไส้ได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อย |
รู้สึกแน่นท้องตลอดเวลา |
สับสน ความจำไม่ดี |
เนื่องจากมีคั่งของเกลือแร่ |
ผู้ป่วยมีอาการมึนงง ความจำไม่ดี |
ใจสั่น |
หัวใจต้องเต้นเร็ว |
ใจสั่น เหนื่อยง่าย |
แพทย์จะตรวจอะไรบ้างเพื่อวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยโรคหัวใจวายจะวินิจฉัยจากประวัติการหอบเหนื่อยหรืออาการบวม และจากการตรวจร่างกายผู้ป่วยที่มีอาการและแพทย์ตรวจแล้วสงสัยว่าจะมีโรคหัวใจวายแพทย์จะตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจทางห้องปฏิบัติการก็เพื่อหาสาเหตุ ประเมินความรุนแรงของโรคหัวใจวาย

- เจาะเลือดตรวจเพื่อดูการทำงานของตับและไต
- ตรวจปัสสาวะ
- X-RAY ปอดและหัวใจเพื่อจะดูขนาดของหัวใจ และดูว่ามีน้ำท่วมบอดหรือไม่ ผู้ป่วยหัวใจวายจะมีขนาดหัวใจโต
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อดูว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือไม่ กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวหรือไม่ การเต้นของหัวใจปกติหรือไม่

- ตรวจคลื่นเสียงหัวใจ Echocardiography วิธีการตรวจเครื่องจะปล่อยคลื่นเสียงผ่านไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ คลื่นเสียงจะสะท้อนกลับมายังเครื่องรับ ทำให้เราสามารถเห็นความหน้าของกล้ามเนื้อหัวใจ เห็นการบีบตัวของหัวใจเพื่อตรวจวัดว่าหัวใจบีบตัวดีหรือไม่ มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจหรือไม่ คนที่เป็นโรคหัวใจวายหัวใจจะมีการบีบตัวน้อยกว่าปกติ กล้ามเนื้อหัวใจหนาหรือไม่ การตรวจนี้ไม่เจ็บปวดใช้เวลาประมาณไม่ถึงครึ่งชั่วโมง
- การตรวจทางนิวเคลีย Radionuclide ventriculography เพื่อวัดปริมาณเลือดที่หัวใจบีบออกไปในแต่ละครั้ง
- การตรวจด้วยวิธีการวิ่งบนสายพาน Treadmil Exercise เป็นการตรวจเพื่อดูว่าเส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบหรือไม่
การแบ่งความรุนแรงของโรคหัวใจ
การแบ่งความรุนแรงของโรคหัวใจก็เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาและดูแลตัว แพทย์จะแบ่งความรุนแรงออกเป็น 4 ระดับดังนี้
ความรุนแรง |
ปริมาณผู้ป่วย |
อาการของผู้ป่วย |
I |
35% |
ผู้ป่วยไม่มีอาการ สามารถทำงานได้เหมือนคนปกติ |
II |
35% |
มีอาการเล็กน้อยเวลาทำงานปกติ พักจะไม่เหนื่อย |
III |
25% |
ไม่สามารถทำงานปกติได้เพราะเหนื่อย เช่นเดินก็เหนื่อย แต่พักจะไม่เหนื่อย |
IV |
5% |
ไม่สามารถทำงานปกติเช่นการอาบน้ำ การเดิน ขณะพักก็เหนื่อย. |
การรักษา
โรคหัวใจวายเป็นโรคที่มีการทำลายกล้ามเนื้อหัวใจอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมากพอจึงเกิดอาการของหัวใจวาย โปรดจำไว้ว่าการรักษาโรคหัวใจวายไม่ใช่การรักษาแล้วหายขาด การรักษาหัวใจวายเป็นการปรับให้ร่างกายสู่สมดุล ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องร่วมมือในการรักษาโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดำรงชีวิต หลักการรักษามีดังนี้
การป้องกันโรคหัวใจวาย
โรคหัวใจเมื่อเป็นแล้วมักจะรักษาไม่หาย ดังนั้นการป้องกันก่อนการเกิดโรคหัวใจวายเรียก Primary prevention น่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิตเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เช่น การออกกำลังกาย รับประทานอาหารคุณภาพหลีกเลี่ยงอาหารมันๆ หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่เครียด งดการสูบบุหรี่ ดื่มสุราในปริมาณที่จำกัด
- รักษาโรคที่เป็นอยู่ เช่น การรักษาโรคความดันโลหิต การรักษาโรคเบาหวาน ไขมัน หลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจ
- ตรวจร่างกายประจำปีก่อนการเกิดโรคหัวใจ
- การรักษาโรคพื้นฐาน เช่น การเต้นหัวใจที่ผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคธัยรอยด์เป็นพิษ
จะพบแพทย์บ่อยแค่ไหน
ช่วงปรับยาอาจจะพบแพทย์ทุกอาทิตย์หลังจากปรับยาได้เหมาะสมแพทย์จะนัดห่างออกไป
จะพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อไร
ท่านควรไปพบแพทย์หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น เช่นหากท่านรู้สึกเหนื่อยง่าย นอนแล้วแน่นหน้าอก น้ำหนักขึ้น'หรือบวมเท้า ควรปรึกษาแพทย์